หมายเหตุ:

เมฆ
Cloud
คือไอน้ำที่กลั่นตัวรวมกันเข้าเป็นกลุ่มก้อน อาจมีสภาพเป็นอนุภาคเล็ก ๆ ของน้ำหรือน้ำแข็ง หรือทั้งสองอย่างปนกันลอยอยู่ในอากาศ สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ในกลุ่มของผสมนี้อาจมีอนุภาคใหญ่ ๆ ของน้ำแข็งปนอยู่ด้วย หรืออาจมีอนุภาคที่ไม่มีน้ำหรืออนุภาคที่เป็นของแข็งตัวอย่าง เช่น ก๊าซ ผงฝุ่น หรือควัน ฯลฯ ซึ่งเกิดจากโรงงานอุตสาหกรรมปนอยู่ด้วย

เมฆแบ่งเป็น 4 ระดับ มี 10 ตระกูล
1. ระดับเมฆที่ก่อตัวในทางตั้ง(Convective level clouds) มี 2 ตระกูล คือ Cumulus(Cu) , Cumulonimbus(Cb)
2. ระดับเมฆชั้นต่ำ(Low level clouds) มี 2 ตระกูล คือ Stratocumulus(Sc) , Stratus( St)

3. ระดับเมฆชั้นกลาง(Middle level clouds) มี 3 ตระกูล คือ Altostratus (As) , Altocumulus (Ac) , Nimbostratus (Ns)

4. ระดับเมฆชั้นสูง(High level clouds) มี 3 ตระกูล คือ Cirrus (Ci) , Cirrostratus (Cs) , Cirrocumulus (Cc)

เมฆคิวมูลัส (ค. - Cu)
Cumulus
เป็นเมฆก้อน ส่วนมากหนาและมองเห็นขอบนอกชัดเจน ก่อตัวในแนวยืนพอกพูนสูงขึ้นยอดเมฆมลักษณะหมือนโดมหรือหอคอยส่วนที่นูนขึ้น ไปมีรูปร่างคล้ายกะหล่ำดอก ส่วนที่แสงอาทิตย์สองทะลุได้จะมีสีขาวสดใจ ฐานของเมฆคิวมูลัสนี้มีสีค่อนข้างดำ ถ้าเกิดขึ้นเป็นหย่อม ๆ หรือลอยอยู่โดดเดี่ยวจะแสดงถึงภาวะอากาศดี ถ้าก้อนมีขนาดใหญ่ขึ่นอาจมีฝนตกภายใต้ก้อนเมฆได้ ฝนที่เกิดจากเมฆนี้จะมีลักษณะเป็นฝนซู่เฉพาะแห่ง
เมฆคิวมูโลนิมบัส (คน. - Cb)
Cumulonimbus

เมฆก้อนใหญ่หนาทึบเกิดโดยการไหลขึ้นของกระแสอากาศ มีรูปลักษณะคล้ายภูเขาหรือหอสูงมหึมา เป็นเมฆที่แสดงถึงสภาวะอากาศไม่ดีเมื่อก่อตัวเต็มที่ ยอดเมฆเป็นแนวเรียบหรือเป็นร่อง ๆ มีลักษณะเป็นฝอยหรือปุย ซึ่งเกือบจะแบนราบและแผ่ออกไปคล้ายรูปทั่ง (anvil) หรือขนนกขนาดใหญ่ ฐานเมฆต่ำขรุขระรุ่งริ่งคล้ายชายผ้าขี้ริ้วห้อยลงมามีสีดำมืด อาจจะอยู่กระจัดกระจายหรือรวมกันอยู่ก็ได้ มักมีฝนตกลงมาด้วย น้ำฟ้าที่ตกลงมาในบางครั้งไม่ทันตกถึงพื้นดินก็ระเหยกลายเป็นไอไปเสียก่อน(virga) เมฆชนิดนี้เราเรียกว่า " เมฆฟ้าคะนอง "

น้ำฟ้า หรือ หยาดน้ำฟ้า
Precipitation
น้ำที่มีลักษณะเป็นของเหลว หรือของแข็ง ซึ่งเกิดจากก้อนเมฆบนท้องฟ้าแล้วตกลงมายังพื้นโลก ได้แก่ ฝน หิมะ และลูกเห็บ
เม็ดฝน
Rain drop
ลักษณะของหยดน้ำซึ่งมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ตั้งแต่ 0.5 มม. (0.02 นิ้ว) ขึ้นไป

ที่มาคำศัพท์อุตุนิยมวิทยา:http://www.tmd.go.th/met_dict.php

ข้อมูลโดย ส่วนติดตามสภาวะอากาศ(ดาวเทียม)
สำนักตรวจและเฝ้าระวังสภาวะอากาศ